เมนู

ทั้งสองอย่างนั้น กรรมของพระเจ้าอชาตศัตรู ได้เป็นกรรมที่ตัดรอนกุศล
ส่วนกรรมของพระองคุลิมาลเถระได้เป็นกรรมตัดรอนอกุศล. ด้วยประการ
ดังกล่าวมานี้ เป็นอันท่านจำแนกกรรม 11 อย่าง ตามสุตตันติกปริยาย.

กรรม 16 อย่างตามแนวพระอภิธรรม



ส่วนพระอภิธรรมปริยาย ท่านจำแนกกรรมไว้ 16 อย่าง. คือ
กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง ห้ามคติสมบัติ ยังไม่ให้ผล 1
กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง ห้ามอุปสมบัติ ยังไม่ให้ผล 1
กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง ห้ามกาลสมบัติ ยังไม่ให้ผล 1
กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง ห้ามปโยคสมบัติ ยังไม่ให้ผล 1
กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง อาศัยคติวิบัติ ให้ผล 1
กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง อาศัยอุปธิวิบัติ ให้ผล 1
กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง อาศัยกาลวิบัติ ให้ผล 1
กรรมสมาทานชั่ว ลางอย่าง อาศัยปโยควิบัติ ให้ผล 1
กรรมสมาทานดี ลางอย่าง ห้ามคติวิบัติ ยังไม่ให้ผล 1
กรรมสมาทานดี ลางอย่าง ห้ามอุปธิวิบัติ ยังไม่ให้ผล 1
กรรมสมาทานดี ลางอย่าง ห้ามกาลวิบัติ ยังไม่ให้ผล 1
กรรมสมาทานดี ลางอย่าง ห้ามปโยควิบัติ ยังไม่ให้ผล 1
กรรมสมาทานดี ลางอย่าง อาศัยคติสมบัติ ให้ผล 1
กรรมสมาทานดี ลางอย่าง อาศัยอุปธิสมบัติ ให้ผล 1
กรรมสมาทานดี ลางอย่าง อาศัยกาลสมบัติ ให้ผล 1
กรรมสมาทานดี ลางอย่าง อาศัยปโยคสมบัติ ให้ผล 1
.

อธิบายกรรม 16 อย่างตามแนวพระอภิธรรม


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาปกานิ แปลว่า ลามก. บทว่า
กมฺมสมาทานานิ ได้แก่การยึดถือกรรม. คำว่า กมฺมสมาทานานิ นี้
เป็นชื่อของกรรมทั้งหลาย ที่บุคคลสมาทานถือเอาแล้ว. พึงทราบวินิจฉัย
ในบทว่า คติสมฺปตฺตึ ปฏิพาฬฺหานิ น วิปจฺจนฺติ เป็นต้น ดังต่อไปนี้
เมื่อกรรมที่มีการเสวยอนิฏฐารมณ์เป็นกิจ ยังมีอยู่นั่นแหละ กรรมนั้น
ของสัตว์ผู้เกิดในสุคติภพ ชื่อว่าห้ามคติสมบัติไว้ ยังไม่ให้ผล. อธิบายว่า
เป็นกรรมถูกคติสมบัติห้ามไว้ ยิ่งไม่ให้ผล.
ก็ผู้ใด เกิดในท้องของหญิงทาสี หรือหญิงกรรมกร เพราะบาปกรรม
(แต่) เป็นผู้มีอุปธิสมบัติ ตั้งอยู่ในความสำเร็จ คือความงดงามแห่งอัตภาพ.
ครั้นนายของเขาเห็นรูปสมบัติของเขาแล้ว เกิดความคิดว่า ผู้นี้ไม่สมควร
ทำงานที่ต่ำต้อย แต่งตั้งเขาไว้ในตำแหน่งภัณฑาคาริกเป็นต้น มอบสมบัติให้
แล้วเลี้ยงดูอย่างลูกของตน. กรรมของคนเห็นปานนี้ ชื่อว่าห้ามอุปธิสมบัติ
ให้ผลก็หามิได้.
ส่วนผู้ใด เกิดในเวลาที่มีโภชนาหารหาได้ง่ายและมีรสอร่อยเช่นกับ
กาลของคนในปฐมกัป บาปกรรมของเขาถึงมีอยู่ จะชื่อว่า ห้ามกาลสมบัติ
ให้ผลก็หามิได้.
ส่วนผู้ใดอาศัยการประกอบโดยชอบ เลี้ยงชีพอยู่ แต่เข้าหาใน
เวลาที่ควรจะต้องเข้าหา ถอยกลับในเวลาที่ควรจะต้องถอยกลับ หนีในเวลา
ที่ควรจะต้องหนี ให้สินบนในเวลาที่ควรให้สินบน ทำโจรกรรมในเวลาที่ควร
ทำโจรกรรม บาปกรรมของคนเช่นนี้ ชื่อว่า ห้ามปโยคสมบัติ ให้ผลก็หา
มิได้.